มลภาวะจากฝุ่นละอองขนาดเล็กยังไม่ทันหายไปจากเมืองไทย ก็มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 (COVID-19) ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันมีความสำคัญในการป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะช่วงเวลาแบบนี้ ดังนั้นการดูแลร่างกายให้มีภูมิต้านทานพร้อมรับมือจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เราสามารถดูแลภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารให้ครบถ้วนในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ เน้นอาหารที่เป็นแหล่งของสารอาหารที่ช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ผักและผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี เนื้อสัตว์และอาหารทะเลที่มีซิงค์หรือสังกะสี เป็นต้น1
ตามตำราแพทย์จีน เชื่อว่ารังนกเป็นตำรับอาหารบำรุงกำลังชั้นดี บำรุงหยินที่ปอด และช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และถูกยกย่องว่าเป็นอาหารล้ำค่ามาแต่โบราณ จากการวิจัยศึกษาองค์ประกอบของรังนกพบว่าโปรตีนเป็นองค์ประกอบหลักของรังนก โดยมีประมาณ 40-60% และยังประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต, กรดอะมิโนจำเป็นหลายชนิด ได้แก่ ทรีโอนีน ไลซีน เมไธโอนีน วาลีน ไอโซลูซีน ลูซีน ฟีนิลอะลานีน และ ทริปโตเฟน และแร่ธาตุคือ แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก และแมงกานีส3,4,8
นอกจากนี้ ในรังนกยังพบ ไกลโคโปรตีนซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต โดยในส่วนที่เป็นคาร์โบไฮเดรตนี้เองที่มี กรดไซอะลิค (Sialic Acid) หรือ N-Acetyl-Neuraminic Acid (NANA หรือ นานะ) ซึ่งพบในรังนกประมาณ 9% ในขณะที่เนื้อไก่และเนื้อเป็ดมีเพียง 0.02% และเนื้อปลาแซลมอนเพียง 0.01%3,5,9,10,11
การศึกษาวิจัยพบว่า สารสำคัญในรังนกสามารถยับยั้งไม่ให้ไวรัส เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เข้าสู่เซลล์ ด้วยกลไกการจับกับเชื้อไวรัสโดยตรง และการขัดขวางการจับตัวระหว่างเชื้อไวรัสกับเซลล์เม็ดเลือดแดง ทั้งนี้นักวิจัยพบว่ารักนกที่มีปริมาณ NANA สูงก็จะมีความสามารถในการต้านไวรัสดีขึ้น ดังนั้น NANA จึงอาจเป็นสารสำคัญในการต้านไวรัส นอกจากนี้ยังพบว่าไกลโคโปรตีนในรังนกทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวน จึงนับได้ว่า รังนก มีส่วนช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน12,13

รู้จักกับความชรา 3 ชั้น : ผิวหนัง กล้ามเนื้อ และกระดูก
ความจริงแล้วความชรานั้นมันสามารถสำแดงฤทธิ์มาได้จากข้างใน นั่นคือความชรา 3 ชั้น ผิวหนัง กล้ามเนื้อ และกระดูก โดยแต่ละชั้นนั้น จะแสดงออกมาให้เห็นถึงภายนอก